National Defense

img-cat

โครงการระบบศูนย์ข้อมูลค่าอ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่องแห่งชาติ (National CORS Data Center) กรมแผนที่ทหาร

BY esri, gisc

กลุ่มบริษัทซีดีจี ร่วมกับกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยพัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลค่าอ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่องแห่งชาติ (National CORS Data Center) เป็นการบูรณาการข้อมูลค่าอ้างอิงพิกัดจากโครงข่ายสถานี GNSS CORS (GNSS Continuously Operating Reference Stations) ทั่วประเทศจำนวนกว่า 250 สถานี ให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน ซึ่งค่าพิกัดมีความถูกต้อง มีความเป็นเอกภาพ และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ทั้งข้อมูลที่ได้มีความเสถียร และมีความละเอียดถูกต้องสูงตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้การรังวัดจากเครื่องมือกำหนดพิกัดด้วยดาวเทียมได้ค่าพิกัดที่มีความละเอียดถูกต้องสูง ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการรักษาความมั่นคงให้กับประเทศชาติ ประกอบด้วยบริการ 3 รูปแบบ คือ บริการการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบจลน์ (Network Real Time Kinematics) บริการข้อมูลสัญญาณดาวเทียมเพื่อการนำทางของสถานีค่าอ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่อง (Continuously Operating Reference Stations: CORS) ในรูปแบบ RINEX file บริการประมวลผลค่าพิกัดแบบภายหลัง (Post processing) บริการดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ เช่น งานสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่และภูมิสารสนเทศ งานรังวัดและจัดทำแปลงที่ดิน งานวิศวกรรมและก่อสร้างสาธารณูปโภค (i-Construction) งานภัยพิบัติ งานบริหารจัดการน้ำ งานคมนาคมขนส่งและยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Car & Drone) ระบบรถไฟความเร็วสูง งานเกษตรแปลงใหญ่ (Smart Farming) งานเกษตรกรรมแม่นยำสูง (Precision agriculture) งานวิจัยสภาพบรรยากาศ และงานด้านการความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น

โครงการระบบโครงข่ายสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบอัตโนมัติ กรมแผนที่ทหาร

BY gisc

กลุ่มบริษัทซีดีจี ร่วมกับกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย พัฒนาระบบโครงข่ายสถานีรังวัดสัญญาณดาวเทียม (Global Navigation Satellite System: GNSS) แบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการก่อสร้างพร้อมติดตั้งโครงข่ายสถานีฐานอ้างอิงรับสัญญาณ GNSS แบบต่อเนื่อง (GNSS Continuously Operating Reference Station: GNSS CORS) เพื่อให้บริการค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งที่ให้ความละเอียดแม่นยำสูง จำนวน 80 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ครอบคลุมหลากหลายสายงาน เช่น การพัฒนาระบบสำรวจแผนที่ สำรวจหาค่าพิกัดทั้งทางราบและค่าความสูงเหนือระดับทะเลปานกลาง การประเมินและป้องกันด้านอุทกภัยและภัยพิบัติธรรมชาติ งานด้านการเกษตรแม่นยำสูง การคมนาคมและการขนส่ง การวางแผนพัฒนาและงานวิจัย การติดตามการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เป็นต้น นับเป็นการยกระดับการสำรวจในประเทศไทยให้เป็นมาตรฐานสากล ทั้งข้อมูลที่ได้ยังมีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูง และยังทำให้การดำเนินงานมีความรวดเร็วและช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก

โครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้งเครื่องมือทำแผนที่อัตโนมัติ (Automate Mapping) กรมแผนที่ทหาร

BY esri, gisc

กลุ่มบริษัทซีดีจี ร่วมกับกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ติดตั้งเครื่องมือสำหรับผลิตแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ซึ่งเป็นแผนที่ฐานหลักของประเทศชุด L7018 (WGS 84) ในปัจจุบัน และติดตั้งเครื่องมือสำหรับผลิตแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:250,000 (แผนที่ยุทธการร่วมภาคพื้นดิน) โดยจัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลแผนที่ในรูปแบบ Topographic Data Store (TDS) พร้อมฝึกอบรมเจ้าหน้าที่กรมแผนที่ทหารในด้านการจัดการฐานข้อมูลแผนที่ การปรับแก้โครงการข่ายสามเหลี่ยมอากาศ การใช้เครื่องมือสำหรับงานโฟโตแกรมเมตรี และการใช้เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพแผนที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ สามารถใช้เครื่องมือทำแผนที่อัตโนมัติ (Automate Mapping) เมื่อลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนาม และสามารถจัดทำเป็นแผนที่จนสามารถสั่งพิมพ์แล้วเสร็จออกเป็นแผนที่กระดาษและแผนที่ดิจิทัลซึ่งเป็นข้อมูลฐานหลักที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนสามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานการผลิตแผนที่

ระบบบัตรประจำตัวข้าราชการ กองประวัติและบำเหน็จบำนาญ กองทัพบก

BY cdt

กลุ่มบริษัทซีดีจี ร่วมกับกองทัพบก พัฒนาระบบบัตรประจำตัวข้าราชการกองทัพบก พร้อมเทคโนโลยีการพิมพ์บัตรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อความรวดเร็วและถูกต้องในการจัดทำบัตร และเป็นระบบที่สามารถจัดเก็บและปรับปรุงข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลบัตรประจำตัวข้าราชการถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างฐานข้อมูลทะเบียนข้าราชการทหาร ทั้งการมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพยังช่วยลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูลข้าราชการเมื่อมีการโยกย้าย เลื่อนชั้นยศ และการเกษียณอายุราชการได้เป็นอย่างดี